วันพุธที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2551

คู่มือการใช้งานโปรแกรม Easy GIF Animator 4 ส่วนการสร้าง Button















เกี่ยวกับโปรแกรม Easy GIF animator เป็นโปรแกรม สำหรับ สร้างและแก้ไขภาพเคลื่อนไหว (Animation) ให้กับ ไฟล์รูปภาพตระกูล GIF ด้วยรูปแบบของโปรแกรมที่ออกแบบมา ช่วยให้ผู้ใช้สามารถสร้างผลงานได้อย่างง่ายๆ ใส่ลูกเล่น จัดเรียงลำดับภาพ ภาพ (Frame) ก่อนหลัง ฯลฯ อีกมากมาย ทั้งนี้ก็ยังมีการปรับให้เหมาะกับเว็บเพจโดยเฉพาะได้อีกด้วยทำให้งานที่ได้ออกมามีคุณภาพ

จุดเด่นและความสามารถของโปรแกรม
1. สามารถสร้างภาพแอนิเมชันแบบการเคลื่อนไหวต่อเนื่อง ของไฟล์ภาพในตระกูล GIF และทำการบันทึกเป็นภาพเพียงภาพเดียว
2. สามารถสร้าง Banners สำหรับเว็บไซต์ได้อย่างสวยงาม
3. สามารถสร้าง Button ที่มีการเคลื่อนไหวได้
4. สามารถ Export ไปเป็นไฟล์ได้ถึง 3 นามสกุล ทั้ง AVI, SWF และ GIF รวมทั้งยังสามารถส่งเมล์ภาพแอนิเมชันที่สร้างขึ้นได้ในโปรแกรมเอง

ขั้นตอนในการสร้าง Button
1. เข้าสู่โปรแกรม ในหน้าต่างแรกให้เลือก Create Animated Button

2. ทำการเลือกรูปแบบให้กับปุ่มที่จะใช้

3. เมื่อกดปุ่ม Next ก็จะสามารถ เพิ่มหรือลดขนาดของปุ่มได้ตามต้องการ

4. เมื่อกดปุ่ม Next และเลือก Gradient Color จะเป็นการแต่งสีสัน ให้กับปุ่ม

5. หรือถ้าเลือก Picture or Texture จะเป็นการเลือกรูปภาพเพื่อใส่เป็นพื้นหลังกับปุ่ม

6. เมื่อกดปุ่ม Finish จะมีปุ่ม Play ปุ่ม Stop เพื่อดู ลูกเล่นต่างๆที่ใส่ไว้ในปุ่มที่เลือกไว้

7. หรือ ถ้าเลือก Edit ก็สามารถปรับรูปแบบของปุ่มได้อีกตามความต้องการ ซึ่งพวกเครื่องมือในการตกแต่ง จะคล้ายกับโปรแกรม Paint ของ Microsoft Windows

8. กำหนดข้อความ Effect โดยคลิก Create Text Effect (ดูข้อ 9)

9. กำหนดข้อความ Effect โดยคลิก Create Text Effect แล้วกำหนดค่าต่าง ๆ ดังในหน้าต่างนี้ โดย
- How to Appear? คือ การเคลื่อนไหวของข้อความเข้า
- How long to show? คือ ระยะเวลาที่แสดงข้อความ
- How to Hide? คือ การหายไปของข้อความหรือการเคลื่อนข้อความออก

10. สามารถแสดงผลด้วย Internet Explorer ได้โดยคลิกที่ปุ่ม Preview In Brows

11. ทำการบันทึกงานเป็นนามสกุลที่ต้องการที่เมนู File เลือก Save หรือ Save As จะได้นามสกุลเป็น GIF หรือเลือกการ Export File นามสกุลอื่น ๆ ซึ่งจะอธิบายในส่วนของการ Export File

วันจันทร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ไอบีเอ็มช่วยเหลือคนตาบอดให้ "มองเห็น" สื่อมัลติมีเดียทางอินเทอร์เน็ต

ไอบีเอ็ม (NYSE: IBM) เปิดตัวเทคโนโลยีใหม่ที่ช่วยให้ผู้พิการทาง สายตาได้เพลิดเพลินกับสตรีมมิ่งวิดีโอและแอนิเมชั่นบนอินเทอร์เน็ต เครื่องมือใหม่สำหรับการเรียกดูสื่อมัลติมีเดียเป็นผลงานการพัฒนาของห้องปฏิบัติการวิจัยประจำกรุงโตเกียว (Tokyo Research Laboratory) ของไอบีเอ็ม โดยเครื่องมือดังกล่าวจะช่วยเปิดประตูสู่โลกของคอนเทนต์ที่หลากหลายสำหรับผู้พิการทางสายตากว่า 161 ล้านคนทั่วโลก
คอนเทนต์แบบมัลติมีเดียมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงสองปีที่ผ่านมา แต่ผู้ใช้ที่มีความบกพร่องหรือความพิการทางสายตากลับไม่ได้รับประโยชน์จากความก้าวหน้าดังกล่าว ซอฟต์แวร์อ่านหน้าจอและเบราว์เซอร์แบบอ่านออกเสียงได้ไม่สามารถรองรับสื่อมัลติมีเดียที่ได้รับการออกแบบมาสำหรับใช้งานทางด้านภาพหรือการมองเห็น โดยผู้พิการทางสายตาไม่สามารถมองเห็นปุ่มควบคุมมัลติมีเดียที่ปรากฏบนหน้าจอได้ นอกจากนี้เสียงของสตรีมมิ่งวิดีโอ ซึ่งเริ่มเล่นโดยอัตโนมัติหลังจากที่เพจถูกโหลด ก็มักจะแทรกแซงเสียงพูดสังเคราะห์จากซอฟต์แวร์อ่านหน้าจอ ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับผู้พิการทางสายตา ยิ่งไปกว่านั้น คอนเทนต์แบบมัลติมีเดียส่วนใหญ่ทำงานร่วมกับเมาส์ แทนที่จะเป็นแป้นพิมพ์ จึงทำให้ผู้พิการทางสายตาไม่สามารถใช้งานคอนเทนต์ดังกล่าวได้
เรื่องมือใหม่สำหรับการเรียกดูสื่อมัลติมีเดียนี้ประกอบด้วยฟีเจอร์ควบคุมมัลติมีเดียสำหรับผู้พิการทางสายตา ซึ่งทำงานในลักษณะที่คล้ายคลึงกับการใช้เมาส์ตามปกติ ตัวอย่างเช่น เมื่อต้องการรับชมสตรีมมิ่งวิดีโอบนเว็บไซต์ที่มีการใช้วิดีโอร่วมกัน ผู้พิการทางสายตาจะสามารถเลือกปุ่ม "เล่น" (Play) ด้วยการกดปุ่มชอร์ตคัตบนแป้นพิมพ์ตามที่กำหนดเพื่อควบคุมสื่อ แทนที่จะต้องไล่ดูเนื้อหาคอนเทนต์เพื่อค้นหาปุ่มสำหรับควบคุมวิดีโอ นอกจากนี้เครื่องมือดังกล่าวยังช่วยให้ผู้ใช้สามารถควบคุมความเร็วในการเล่นวิดีโอซ้ำ ปรับระดับเสียง และแม้แต่เพิ่มความเร็วของเสียง เนื่องจากผู้พิการทางสายตาที่ฟังเสียงจากสตรีมมิ่งวิดีโอมักจะรู้สึกว่าเสียงมีความล่าช้าเป็นอย่างมาก
เครื่องมือใหม่สำหรับการเรียกดูสื่อมัลติมีเดียนี้จะสามารถปรับระดับเสียงสำหรับแหล่งเสียงแต่ละแหล่ง จึงทำให้ผู้ใช้สามารถระบุและรับฟังเสียงจากแหล่งต่างๆ เช่น ซอฟต์แวร์อ่านหน้าจอ และเสียงจากวิดีโอ หากผู้สร้างคอนเทนต์ต้องการใส่เสียงบรรยายลงในวิดีโอ เครื่องมือชนิดใหม่นี้ก็ให้ความยืดหยุ่นในการใช้คำอธิบายข้อมูลหรือเมตาดาต้า (Metadata) ซึ่งประกอบด้วยสคริปต์ข้อความที่อธิบายว่ามีอะไรเกิดขึ้นบนหน้าจอ นอกจากนี้เครื่องมือดังกล่าวยังทำการปรับแต่งอัตโนมัติเพื่อให้เสียงบรรยายมีลักษณะสอดประสานกับวิดีโอ แม้กระทั่งในกรณีที่ใช้ฟีเจอร์ควบคุมความเร็ว

http://www.arip.co.th/2006/news.php?id=406262